top of page

จิตวิทยาของการประชุมที่มีคุณภาพ: การเข้าใจการทำงานของกลุ่ม



ลองนึกภาพห้องประชุมแบบธรรมดาๆ – คนกลุ่มหนึ่งที่มีความคิด, ประสบการณ์, และความคาดหวังที่แตกต่างกันมารวมตัวกันด้วยจุดประสงค์เดียวกัน แต่ทำไมบางครั้งการประชุมบางครั้งถึงได้แรงบันดาลใจและเต็มไปด้วยการทำงานอย่างมีชีวิตชีวา ในขณะที่ครั้งอื่นๆ อาจทำให้รู้สึกเหนื่อยหน่ายและไม่มีส่วนร่วม? คำตอบมักไม่อยู่ที่วาระหรือหัวข้อที่พูดถึง แต่อยู่ที่การทำงานของกลุ่มและปฏิสัมพันธ์ทางจิตวิทยาที่เกิดขึ้น บทความนี้จะพาเราไปสำรวจจิตวิทยาของการประชุมที่มีประสิทธิผล และดูว่าการเข้าใจการทำงานของกลุ่มจะช่วยเปลี่ยนการประชุมธรรมดาให้กลายเป็นพื้นที่ที่มีพลังในการทำงานและการร่วมมือได้อย่างไร


ความรู้สึกปลอดภัยในห้องประชุม

สิ่งสำคัญในการประชุมที่มีประสิทธิผลคือแนวคิดเรื่อง 'ความปลอดภัยทางจิตใจ' (Psychological Safety) ซึ่งหมายถึงสภาพแวดล้อมที่สมาชิกในทีมรู้สึกปลอดภัยที่จะแสดงความคิดเห็น และยอมรับความผิดพลาดโดยไม่กลัวการลงโทษหรือถูกหัวเราะเยาะ เมื่อมีความปลอดภัยทางจิตใจ ความคิดสร้างสรรค์จะเบ่งบานและแนวคิดที่ดีสามารถปรากฏขึ้นจากที่ที่คาดไม่ถึง


Tips: ควรส่งเสริมให้มีการสนทนาอย่างเปิดเผย ให้การยอมรับกับทุกการมีส่วนร่วมและหลีกเลี่ยงการตัดสินหรือวิจารณ์ทันที วิธีนี้จะช่วยสร้างความรู้สึกของการเป็นหนึ่งเดียวและกระตุ้นให้มีการเข้าร่วมที่มีความคิดสร้างสรรค์และกระตือรือร้นมากขึ้น


รู้จักบทบาทและความหลากหลายในกลุ่ม

ในทุกการประชุมมีบทบาทที่ไม่ได้พูดถึงอย่างชัดเจน บางคนอาจรับบทเป็นผู้นำโดยธรรมชาติ ในขณะที่บางคนอาจเป็นผู้คิดหรือผู้ท้าทาย การรู้จักบทบาทเหล่านี้สามารถช่วยในการใช้ความแข็งแกร่งของกลุ่มได้อย่างเต็มที่


Tips: สังเกตบทบาทของแต่ละคนและส่งเสริมให้สมาชิกที่ไม่ค่อยพูดมีส่วนร่วม การทรงสมดุลเป็นสิ่งสำคัญ – ต้องแน่ใจว่าไม่มีเสียงใดเสียงหนึ่งที่ครอบงำ และยอมรับมุมมองที่หลากหลาย


อวจนภาษา

การสื่อสารที่ไม่ใช้คำพูดมีบทบาทสำคัญในการประชุม ภาษากาย การสบตา และแม้แต่การจัดที่นั่งสามารถมีอิทธิพลอย่างมากต่อบรรยากาศและผลลัพธ์ของการประชุม การสื่อสารทางไม่ใช้คำพูดที่เป็นบวกสามารถสร้างบรรยากาศของการร่วมมือและความเคารพกันและกัน


Tips: ให้ความสนใจกับภาษากายของตัวเองและของคนอื่น การทำท่าทางเปิด การพยักหน้า และการรักษาการติดต่อสายตาสามารถเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความเข้าใจ


การตัดสินใจ

วิธีการตัดสินใจในการประชุมสามารถเป็นการเสริมสร้างหรือทำให้สมาชิกในทีมรู้สึกไม่มีส่วนร่วม สิ่งสำคัญที่จะต้องเข้าใจคือกระบวนการตัดสินใจของกลุ่มแต่ละแบบไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจแบบได้รับความเห็นชอบจากทุกคน แบบประชาธิปไตย หรือถูกนำโดยบางคน ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียของมัน แต่สิ่งสำคัญคือการทำให้แน่ใจว่ามีความชัดเจนและมีส่วนร่วมของคนที่เข้าร่วมประชุม


Tips: อธิบายกระบวนการตัดสินใจชัดเจนตั้งแต่ต้นการประชุม ถ้าเป็นการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วมก็ต้องแน่ใจว่าได้ยินเสียงของทุกคน ถ้าการตัดสินใจเป็นแบบ top-down ก็จะเป็นการให้เหตุผลเพื่อสร้างความเข้าใจและการยอมรับจากที่ประชุม


การจัดการความขัดแย้ง

ความขัดแย้งและความไม่ลงรอยกันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการประชุม แต่ก็ม่ได้จำเป็นว่าต้องมีผลเสียเพราะความขัดแย้งที่สร้างสรรค์สามารถนำไปสู่ความคิดและแนวทางแก้ไขที่ดีกว่าเดิมได้ นั่นทำให้การบริหารความขัดแย้งจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำให้เกิดขึ้นในห้องประชุม


Tips: ส่งเสริมการอภิปรายและการโต้วาทีอย่างมีความเคารพ เมื่อเกิดความขัดแย้ง ให้ความสำคัญกับประเด็นมากกว่าบุคคลที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่เน้นผลลัพธ์มากกว่าการตำหนิ


จากปัจจัยดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าการประชุมที่มีประสิทธิผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับวาระหรือเนื้อหาที่พูดถึงเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการเข้าใจและจัดการกับจิตวิทยาที่ซับซ้อนของแต่ละคนที่เข้าร่วมประชุมโดยการสร้างความปลอดภัยทางจิตใจ การตระหนักถึบทบาทของผู้เข้าประชุม การให้ความสำคัญกับการสื่อสารที่ไม่ใช้คำพูด การเข้าใจกระบวนการตัดสินใจ และการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ การประชุมสามารถกลายเป็นที่ที่เต็มไปด้วยนวัตกรรม การตัดสินใจ และการรวมกลุ่มของทีมที่ดีได้


ติดตามข่าวสารและอัปเดตจาก dots.

Thanks for subscribing.

bottom of page