top of page

Tokenism คืออะไร เกี่ยวอะไรกับ Pride Month



พอเข้าสู่เดือนมิถุนายนหรือ Pride Month นั้น เราก็จะเห็นแบรนด์มากมายออกมาเปลี่ยนโลโก้ให้มีสีรุ้ง บ้างก็ออกแคมเปญสนับสนุนกลุ่ม LGBTQ+ เพื่อแสดงออกว่าองค์กรของเราเป็น LGBTQ+ Friendly และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ แต่เรื่องนี้ก็ถูกยกมาเป็นประเด็นคุยในการตลาดช่วงปีหลัง ๆ อยู่เหมือนกันเพราะหลายอย่างที่แบรนด์ทำแบบนี้นั้นเข้าข่าย Tokenism หรือการแสดงออกที่ดูผิวเผินเหมือนสนับสนุนความเท่าเทียม แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นแบบนั้น


Tokenism คือการให้การยอมรับกับกลุ่มคนต่างๆ เช่นกลุ่มคนผิวสี LGBTQ+ คนต่างชาติ คนพิการในองค์กรต่าง ๆ แบบขอไปที โดยมีจุดประสงค์เพียงเพื่อแสดงว่าองค์กรมีความหลากหลาย เปิดกว้าง และ "ดูเป็นคนดี" เท่านั้น ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจจริงที่จะสร้างความเท่าเทียมหรือการยอมรับแต่อย่างใด โดย Tokenism มักถูกใช้เพื่อปกป้ององค์กรจากการโดยหาว่าเลือกปฏิบัติ ไม่สนับสนุนประเด็นสังคมต่าง ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตัว "คน" ที่ถูกใช้เป็น "Token" นี้กลับไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม ไม่ได้รับโอกาสหรือการสนับสนุนจากองค์กรแต่อย่างใด


ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้กิจกรรม Pride Month ในช่วงหลัง ๆ ถูกมองว่าแบรนด์กำลังเป็น Tokenism ที่มาทำแคมเปญแค่เกาะกระแส หรือพูดว่าสนับสนุนแต่ไม่ได้มีอะไรที่จับต้องได้ว่าสนับสนุนจริงจากองค์กร เช่นไม่มีนโยบาบสนับสนุนสิทธิของ LGBTQ+ ในองค์กร ไม่มีการรับพนักงาน LGBTQ+ หรือเปิดโอกาสให้ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ไม่ได้มีการบริจาคหรือสนับสนุนเรื่อง LGBTQ+ Rights อย่างจริงจัง หรือไม่ก็ทำกิจกรรมแค่เดือน Pride Month แล้วก็ไม่ได้ทำจริงจังในช่วงเวลาที่เหลือของปี เป็นต้น


นอกจากนี้แล้ว การทำแคมเปญเหล่านี้มักถูกมองว่าแบรนด์พยายามเบี่ยงความสนใจจากประเด็นอื่น ๆ อีกต่างหาก


เรื่องนี้เองที่มีการพูดกันว่าถ้าองค์กรจะสนับสนุน LGBTQ+ จริง ก็ควรส่งเสริมความหลากหลายทางเพศโดยไม่จำกัดอยู่แค่ในเดือนมิถุนายน ไม่ควรเป็นเรื่องของการตลาด แต่ควรแทรกอยู่ในทุกส่วนขององค์กรอย่างแท้จริง แน่นอนว่า Pride Month เป็นช่วงเวลาที่ดีกับการเริ่มต้น แต่มันไม่ควรเป็นเทรนด์ที่ผ่านมาแล้วผ่านไป แล้วก็รอว่าปีหน้าจะมาเกาะเทรนด์ใหม่เป็นเทศกาลประจำปี

Comments


ติดตามข่าวสารและอัปเดตจาก dots.

Thanks for subscribing.

bottom of page