เมื่อพูดถึงเรื่องทักษะในการทำคอนเทนต์นั้น คนส่วนใหญ่มักนึกถึงทักษะของการเล่าเรื่อง การถ่ายทอด การเขียน หรือการพรีเซนต์เนื้อหาออกมา บ้างก็มองไปเรื่องการคิดเนื้อหาที่มีความสดใหม่ สร้างสรรค์ น่าสนใจ
แต่จริง ๆ มีทักษะหนึ่งที่จำเป็นและมักถูกมองข้ามอยู่บ่อย ๆ ก็คือทักษะการ “คัดสรร” คอนเทนต์หรือที่มักจะเรียกกันว่า Curation Skill โดยทักษะในส่วนนี้คือการที่ผู้ทำงานสามารถรู้ได้ว่าในประเด็นที่ต้องการนำเสนอ สื่อสาร หรือวิเคราะห์นั้น จะต้องรวบรวมข้อมูลจากไหนบ้าง จะนำมาจัดเรียงจัดระบบอย่างไร เช่นเดียวกับที่รู้ว่าควรคัดเลือกเหลือคอนเทนต์อะไรบ้างที่มานำเสนอเพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย
ที่ทักษะนี้สำคัญมาก ๆ เพราะในชีวิตจริงนั้นมีข้อมูลต่าง ๆ มากมายให้เราสามารถหยิบมาใช้วิเคราะห์และนำเสนอโดยเฉพาะในโลกปัจจุบันซึ่งมีเนื้อหาต่าง ๆ มากมาย แต่ถ้าคนทำงานไม่รู้ว่าจะหาข้อมูลที่ตัวเองต้องการจากแหล่งไหนและด้วยวิธีใดแล้ว ก็อาจจะไม่สามารถได้ข้อมูลที่ดีมานำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำคอนเทนต์ได้
ด้วยเหตุนี้ Curation Skill จึงเริ่มตั้งแต่การที่ผู้ทำงานจะต้องสามารถรู้ว่าตอนนี้มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจ และข้อมูลต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับประเด็นเหล่านั้นอยู่ที่ไหน จะหาข้อมูลด้วยวิธีใดเพื่อรวบรวมมาให้เพียงพอเพื่อทำงานต่อไป
จากนั้นก็จะเข้าสู่ทักษะของการจัดระเบียบข้อมูลที่มีอยู่ (Organize) ให้เป็นระบบ สามารถแยกประเภทให้สามารถเข้าใจได้ง่าย วิเคราะห์รวดเร็ว นำไปใช้ทำงานต่อได้โดยไม่สับสน
เมื่อเรามีข้อมูลที่เพียงพอและถูกจัดระบบไว้แล้ว ต่อมาคือการคัดสรรว่าคอนเทนต์ไหนจะเหมาะแก่การนำเสนอ เรื่องไหนมีส่วนเกี่ยวกับประเด็นที่เราต้องการสื่อสาร เรื่องไหนสัมพันธ์ เรื่องไหนไม่เกี่ยวข้อง เพื่อจะทำให้การสื่อสารที่ออกมานั้นชัดเจน ต่อเนื่อง และไม่หลงประเด็น
และเมื่อทำการคัดกรอง / คัดเลือกคอนเทนต์เสร็จแล้วก็จะเป็นเรื่องของการนำเสนอ (Present) ด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับประเภทเนื้อหาที่คัดสรรมานั่นนเอง
เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว จะเห็นว่า Curation Skill นั้นประกอบด้วยหัวใจหลัก ๆ ที่ต้องฝึกฝนให้แม่นยำคือ
ค้นหาและรวบรวมข้อมูล (Search & Collect)
การเรียบเรียงข้อมูล (Orgaznie)
คัดกรองข้อมูล (Filter)
นำเสนอข้อมูล (Present)
และสิ่งเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ในการสื่อสารต่าง ๆ ตั้งแต่การนำเสนอรายงาน หรืออัพเดทข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ในการทำงานนั่นเอง
Opmerkingen