การเรียน Data-Driven Decision Making ไม่ใช่แค่การเรียนทำ Chart / Graph
- Nuttaputch Wongreanthong
- 12 นาทีที่ผ่านมา
- ยาว 1 นาที

ในยุคที่องค์กรต่างตื่นตัวกับคำว่า “Data-Driven” มากขึ้นเรื่อยๆ คอร์สอบรมจำนวนไม่น้อยจึงเน้นสอนให้พนักงานทำ Dashboard, วาดกราฟ หรือสร้าง Visualization ที่ดูดีมีสไตล์ แต่คำถามคือ…แค่นั้นเพียงพอหรือยัง?
คำตอบคือ ไม่ใช่เลย และการเข้าใจผิดนี้เองที่ทำให้หลายองค์กร “มีข้อมูล แต่ไม่สามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจได้จริง”
เพื่อให้เข้าใจประเด็นนี้ เราต้องเริ่มจากการเห็นก่อนว่าการทำงานแบบ Data-Driven ไม่ได้เริ่มต้นที่ “เครื่องมือ” แต่เริ่มต้นที่ “วิธีคิด” ซึ่งก็คือการตั้งคำถามที่ถูกต้อง แปลข้อมูลออกมาเป็นความเข้าใจ และตัดสินใจบนพื้นฐานของหลักฐาน ไม่ใช่แค่สัญชาตญาณหรือประสบการณ์เดิมๆ
หรือหากเปรียบเทียบให้เห็นภาพ:
- การทำ Chart / Graph = การวาดแผนที่
- การตัดสินใจด้วย Data = การตีความแผนที่เพื่อเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด
นั่นทำให้การเรียนรู้เรื่อง Data-Driven Decision Makging จะมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ที่กระบวนการตัดสินใจด้วยข้อมูล ซึ่งได้แก่
1. Problem Framing: ตั้งคำถามให้ถูกต้องก่อนหาคำตอบ
2. Data Literacy: เข้าใจว่าข้อมูลหมายถึงอะไร มีความลำเอียงตรงไหน และควรเชื่อแค่ไหน
3. Analytical Thinking: วิเคราะห์ตัวเลขเพื่อมองหาความเชื่อมโยง เหตุและผล
4. Business Context: เข้าใจบริบทของธุรกิจ เพื่อแปล Insight เป็น Action ที่มีผลจริง
5. Decision Architecture: ตัดสินใจอย่างเป็นระบบ โดยอิงจากข้อมูลมากกว่าอารมณ์
หากองค์กรของคุณต้องการพัฒนา Data-Driven Culture อย่างแท้จริง
คำแนะนำคือ เริ่มจากการพัฒนา “ทักษะการตัดสินใจ” ด้วยข้อมูล มากกว่า “ทักษะการตกแต่งข้อมูล”
- สอนให้คนตั้งคำถามเชิงกลยุทธ์
- ให้เข้าใจความหมายของตัวเลขในแต่ละบริบท
- และฝึกการสื่อสาร Insight ที่เข้าใจง่ายแต่ทรงพลัง
Comentarios