top of page

Bias 10 แบบที่ต้องระวังไม่ให้ส่งผลกระทบในการตัดสินใจทางธุรกิจ




การคิดและตัดสินใจนั้นเป็นกระบวนที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดในการทำธุรกิจ และถ้าหากเกิดอคติขึ้นก็จะทำให้การตัดสินใจนั้นมีโอกาสจะผิดพลาดได้ คนทำงานจึงควรรู้จักอคติแบบต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่ตามมาจากอคติเหล่านี้


1. Confirmation Bias: อคติในการยืนยัน

การสนใจหรือหาข้อมูลมายืนยันกับความเชื่อเดิมที่ตัวเองมีจนทำให้มองข้ามปัญหาหรือข้อเท็จจริงบางอย่าง ส่งผลให้หลายธุรกิจมองข้ามโอกาสบางอย่างไป นักการตลาดเชื่อในข้อมูลสนับสนุนตัวเองมากเกินไป มองไม่เห็นปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจจะนำไปสู่วิกฤตของธุรกิจได้


2. Anchoring Bias: การปักใจเชื่อ

เกิดขึ้นเมื่อคนทำงานปักใจเชื่อในข้อมูลที่เขาได้รับในตอนแรก แม้ว่าข้อมูลนั้นอาจจะไม่ครอบคลุมหรือไม่ถูกต้อง จนทำให้ละเลยหรือพิจารณาข้อมูลอื่นที่มีตามมาด้วย โดย Anchoring Bias นี้มักเกิดขึ้นเมื่อมีความยึดติดกับการตัดสินใจของตัวเองหรือข้อมูลประเภทหนึ่งเท่านั้น เช่นการได้ข้อมูลลูกค้ามาในครั้งแรกว่าชอบคุณสมบัตินี้ ก็จะโฟกัสและยึดข้อมูลนี้ในการทำงานตลอดโดยไม่ได้คิดต่อว่าอาจจะมีเหตุอื่นหรือปัจจัยที่ทำให้ลูกค้าต้องการคุณสมบัตินี้ก็ได้


3. Availability Heuristic: ความคุ้นเคย

เกิดจากการที่คนเราจะตัดสินใจหรือคิดจากสิ่งที่เราคุ้นเคย รู้จักมักคุ้น ทำให้เกิด "ทางลัด" ในการคิดและตัดสินใจ และมักจะเห็นได้จากการทำแคมเปญการตลาดในเชิง "รับ" กับสถานการณ์ที่เข้ามามากกว่าจะเป็นการวางแผนระยะยาว เพราะการตัดสินใจต่าง ๆ มักจะคิดจากไอเดีย "แว้บแรก" ที่ขึ้นมา มากกว่าการไตร่ตรองและวิเคราะห์อย่างดีแล้ว


4. Hindsight Bias: อคติเมื่อมองย้อนหลัง

เป็นอคติที่เกิดขึ้นโดยคนทำงานจะมองว่าตัวเองสามารถเข้าใจอดีตและเหตุที่เกิดขึ้นก่อนหน้าได้ดีมากทั้งที่จริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นแบบนั้นและนั่นมักเป็นที่มาของการพูดว่า "ผมว่าแล้ว" "คิดเอาไว้ไม่ผิด" "รู้อยู่แล้วว่า..." หลังจากเกิดปัญหาขึ้น และนั่นทำให้เกิดความเชื่อว่าตัวเองจริง ๆ แล้วมีความสามารถในการคาดการณ์ที่แม่นยำ เกิดความมั่นใจในตัวเองที่มากเกินไป แล้วทำให้การตัดสินใจในอนาคตมีความสุ่มเสี่ยงได้


5. Status Quo Bias: ลำเอียงกับสถานะปัจจุบัน

คืออคติที่เกิดขึ้นเพราะชื่นชอบ เชื่อมั่น ยึดมั่นกับสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจนไม่คิดอยากเปลี่ยนแปลง และนั่นทำให้หลายธุรกิจไม่เกิดการพัฒนา ปรับปรุงให้ดีขึ้น เพราะมองว่าที่ทำอยู่นั้นดีอยู่แล้ว


6. Self-Serving Bias: เอาดีเข้าตัว

คือการเอนเอียงที่มองว่าสิ่งที่ดี ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นเพราะตัวเรา ความสามารถของเรา แต่ความผิดพลาดหรือหากธุรกิจไม่ได้เป็นอย่างที่ตั้งใจไว้นั้นจะเกิดขึ้นจากคนอื่น และนั่นทำให้คนทำงานไม่เกิดการเรียนรู้ พัฒนา หรืออาจจะถึงขั้นไม่ยอมแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเลยนั่นเอง


7. Representative Heuristic: อคติจากการใช้ตัวแทน

เป็นอคติเมื่อเราไม่มีความไม่แน่ใจและพยายามใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งทดแทน ใช้ความน่าจะเป็นแทนที่จะใช้ข้อเท็จจริง เช่นการมองกลุ่มเป้าหมายเป็น Stereotype ประเภทว่าเด็กมักเป็นแบบนี้ คนทำงานมักเป็นแบบนี้ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ข้อมูลจริงของตลาดก็ได้ ซึ่งหากนักการตลาดใช้อคติเหล่านี้แล้วก็มีโอกาสที่แคมเปญจะผิดพลาดได้นั่นเอง


8. Optimism Bias: มองโลกแง่ดีเกินไป

การมีทัศนคติเชิงบวกเป็นเรื่องที่ดี แต่หากมีมากเกินไปจนมองข้ามความเสี่ยงต่าง ๆ หรือเชื่อไปใหญ่โตว่าจะเป็นแบบนั้นแบบนี้อาจจะนำมาสู่การที่ธุรกิจพลาดพลั้งจากความไม่พร้อมหรือการไม่ได้เตรียมตัวไว้กับสถานการณ์ที่เกิดปัญหาขึ้น


9. Bandwagon Effect: การตามแห่

เมื่อมีกระแสการทำอะไรบางอย่าง ก็ทำให่้หลายธุรกิจกระโดดตามลงไปทำตามด้วยโดยไม่ได้มีการคิดให้ดีก่อนว่าสอดคล้องกับธุรกิจตัวเองหรือไม่ เหมาะสมกับสถานการณ์ของตัวเองมากขนาดไหน


10. Authority Bias: การเชื่อกูรู

หลายครั้งที่ธุรกิจตื่นตูมไปกับความเห็นหรือคำแนะนำนของคนที่ขึ้นชื่อว่าเป็น "กูรู" ของวงการจนทำให้ไม่ได้ทันได้คิดและตริตรองให้ดีว่าสิ่งนั้นถูกต้องหรือไม่ จนนำไปสู่การดำเนินธุรกิจ การทำการตลาดที่อาจจะสิ้นเปลืองและเปล่าประโยชน์ได้






ติดตามข่าวสารและอัปเดตจาก dots.

Thanks for subscribing.

bottom of page