top of page

10 ​Marketing Psychology จิตวิทยาการตลาดที่ควรรู้แล้วนำไปใช้


Marketing Psychology

ในการทำการตลาดนั้น การใช้หลักจิตวิทยาก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่สามารถทำให้เห็นผลในการโน้มน้าวลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนักการตลาดที่เข้าใจหลักจิตวิทยาเหล่านี้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การออกแบบแคมเปญ การตั้งราคา และนั่นทำให้จิตวิทยาการตลาด (Marketing Psychology) ถึงเป็นเรื่องน่าสนใจและควรรู้


Reciprocity: การตอบแทน

คอนเซปต์: คนเรามีแนวโน้มจะตอนแทนกับการได้รับประโยชน์อะไรบางอย่าง

การใช้งาน: การแจก Sample ให้ลูกค้าจะทำให้ลูกค้ามีโอกาสกลับมาใช้บริการ


Scarcity: ของหายาก

คอนเซปต์: ของที่มีจำกัดมักจะถูกมองว่ามีค่ามากขึ้น

การใช้งาน: การขึ้นคำโฆษณา “เหลือไม่มาก” จะช่วยทำให้คนเร่งการตัดสินใจ


Authority: ความน่าเชื่อถือ

คอนเซปต์: คนเรามีแนวโน้มจะเชื่อกับคนที่ถูกมองว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น

การใช้งาน: การมีความเห็น / รีวิวจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ จะทำให้สินค้ามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น


Commitment: พันธะผูกมัด

คอนเซปต์: เมื่อคนเรามีการให้สัญญากับอะไรบางอย่างแล้ว จะมีแนวโน้มที่จะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ หรือทำสิ่งต่อ ๆ ไป

การใช้งาน: การเริ่มให้ลูกค้าทำการสมัครอะไรบางอย่างที่ง่าย ๆ เพื่อให้เกิดพันธะบางอย่างขึ้น


Social Proof: สังคมนำพา

คอนเซปต์: คนเรามีแนวโน้มจะได้รับอิทธิพลจากการที่มีคนอื่นทำอะไรบางอย่าง หรือพูดถึงอะไรบางอย่าง

การใช้งาน: การให้เห็นรีวิวจากลูกค้า ได้เห็นคนอื่นใช้งานสินค้า จะทำให้เกิดการอยากทำตาม


Liking: การชื่นชอบ

คอนเซปต์: คนเรามีแนวโน้มที่จะได้รับอิทธิพลจากสิ่งที่ตัวเองชื่นชอบหรือติดตาม

การใช้งาน: การออกแบบแบรนด์และประสบการณ์ให้ใกล้เคียงกับแบรนด์ที่ลูกค้าชื่นชอบ


Contrast: ตรงกันข้าม

คอนเซปต์: คนเราจะมีมุมมองที่เปลี่ยนไปต่อเรื่องนั้นเมื่อได้เห็นบางสิ่งที่ตรงกันข้ามมาเทียบ

การใช้งาน: การหาคู่เทียบที่ตรงกันข้าม เช่น Before & After หรือสินค้าที่ราคาต่างกันมาก


Anchoring: การยึดมั่น

คอนเซปต์: ข้อมูลชุดแรกที่ลูกค้าได้นั้น จะเป็นข้อมูลสำคัญที่ลูกค้ายึดและใช้ในการเทียบเพื่อตัดสินใจในลำดับต่อไป

การใช้งาน: การให้ราคาตั้งต้นดูสูงจะทำให้ราคาที่มีการปรับลดดูเป็นดีลที่น่าสนใจ


Decoy Effect: ทางเลือกลวง

คอนเซปต์: การมีทางเลือกที่สามจะทำให้หนึ่งในสองตัวเลือกแรกดูน่าสนใจมากขึ้น

การใช้งาน: การมีคู่เทียบตัวที่สามจะทำให้ลูกค้าสามารถเลือกตัวเลือกกลางที่มองว่าคุ้มค่า


Loss Aversion

คอนเซปต์: ลูกค้ากลัวการสูญเสียบางอย่างมากกว่าความรู้สึกดีที่ได้มาบางอย่างมากขึ้น

การใช้งาน: การกระตุ้นให้เห็นว่าลูกค้าจะพลาดอะไรไป จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจได้เร็วขึ้น



ติดตามข่าวสารและอัปเดตจาก dots.

Thanks for subscribing.

bottom of page