top of page

Heartful Business #1 – คน 5 กลุ่มที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ

ผมได้มีโอกาสไปฟังการบรรยายในงาน “เติมหัวใจให้ธุรกิจ” ที่จัดโดยหลักสูตร MBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งมีการเชิญ Professor Koji Sakamoto ซึ่งเป็นผู้แต่งหนังสือ “บริษัทแบบนี้ที่ควรรัก” อันเป็นหนังสือที่มียอดจำหน่ายมากกว่า 6 แสนเล่มในญี่ปุ่น โดยการบรรยายนั้นมีการพูดถึงการประกอบธุรกิจที่เน้นแนวคิดที่จะ “สร้างความสุข” และนำให้บริษัทไปสู่การเป็นบริษัทชั้นเลิศในธุรกิจและมีความยั่งยืน ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนั้นมีความน่าสนใจมากๆ เลยอยากขอมาเขียนสรุปแบ่งปันกันเป็นตอนๆ นะครับ

ทำไมต้อง Heartful Business?

แม้ว่าธุรกิจนั้นจะเกิดขึ้นมาเพื่อสร้างผลกำไรให้กับตัวบริษัทก็จริง แต่จากข้อมูลหลายๆ อย่างก็พบว่าธุรกิจจำนวนมากนั้นกลับขาดความยั่งยืน และเจอปัญหาต่างๆ มากมายที่ทำให้ผู้บริหารต้องรับมืออยู่อย่างต่อเนื่อง เช่นการบริหารต้นทุน การรักษาพนักงานในองค์กร ฯลฯ ซึ่งเมื่อมีการศึกษาต่อถึงบริษัทในญี่ปุ่นที่อยู่ในกลุ่มที่เป็น “บริษัทชั้นเลิศ” นั้นกลับพบลักษณะร่วมบางประการซึ่งได้ดำเนินการต่างไปจากวิถีที่บริษัททั่วๆ ไปนั้นทำกัน และนั่นก็น่าจะเป็นสิ่งที่ผู้บริหารหรือผู้ที่คิดจะประกอบธุรกิจควรนำไปพิจารณาเพื่อปรับแนวทางการบริหารของตัวเอง

และหลักที่ว่านั้นคือ Heartful Business นั่นเอง

กลุ่มบุคคลที่บริษัทต้องให้ความสำคัญ

ก่อนจะเริ่มเจาะลงไปเรื่องแนวทางบริหารจัดการนั้น สิ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดนี้ก่อนคือการตั้งคำถามว่าธุรกิจควรจะให้ความสำคัญกับใครบ้าง? ซึ่งโดยทั่วไปแล้วธุรกิจก็มักจะให้ความสำคัญกับคนที่ชื่อว่า “ผู้ซื้อ” และ “ผู้ขาย” (ตัวธุรกิจเอง) และบางครั้งก็จะให้ความสำคัญกับตัวผู้ถือหุ้นหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง

แต่ในมุมมองของ Professor Sakamoto นั้นมองว่าจริงๆ แล้วเราสามารถแยกกลุ่มคนที่ธุรกิจควรให้ความสำคัญเป็น 5 กลุ่มและทั้งหมดนั้นล้วนจะมีผลกับการดำเนินธุรกิจของตัวองค์กรเอง ได้แก่

  1. พนักงานและครอบครัว

  2. พนักงานบริษัทอื่นและครอบครัว (คู่ค้า / Supplier)

  3. ลูกค้าปัจจุบันและในอนาคต

  4. คนในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในสถานะเสียเปรียบในสังคม

  5. นักลงทุนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งทั้ง 5 กลุ่มนั้นก็เรียงลำดับความสำคัญตามข้างต้น

พอเป็นแบบนี้ หลายคนก็อาจจะสงสัยว่าทำไมถึงไม่ให้ความสำคัญกับลูกค้ามาเป็นอันดับแรก? ตรงนี้ Professor Sakamoto ได้อธิบายไว้อย่างน่าสนใจทีเดียวครับ

พนักงานและครอบครัว

แน่นอนว่าธุรกิจจะดำเนินการได้นั้นก็ต้องมีลูกค้า แต่การจะให้บริการลูกค้า จะสร้างสินค้าต่างๆ ไปตอบโจทย์ลูกค้าได้ก็ต้องเริ่มจากการที่ธุรกิจต้องมี