top of page

8 ลักษณะของคนที่มีทักษะ Critial Thinking

เรื่องของ Critical Thinking นั้นเป็นสิ่งที่หลายๆ คนเริ่มให้ความสำคัญหลังจากที่สำนักมากมายก็ระบุว่ามันคือทักษะจำเป็นสำหรับยุคต่อจากนี้ ซึ่งก็มักมีการนำเสนอคุณลักษณะต่างๆ ที่จำเป็นของการเป็นนักคิดที่เรียกว่า Critical Thinker กัน ซึ่งผมลองรวบรวมลักษณะสำคัญๆ ที่มีการพูดถึงบ่อยๆ มาเล่าสู่กันฟังแล้วกันนะครับ

Active Listening

เป็นคนที่หมั่นฟังควบคู่กับเป็นการฟังด้วยความตั้งใจโดยไม่ได้ใช่แค่การฟังเพื่อโต้ตอบ (ซึ่งมักเป็นเป็นสิ่งที่คนทำอยู่บ่อยๆ) โดยทั้งนี้คนฟังจะต้องฟังเพื่อทำความเข้าใจว่าอีกฝั่งต้องการสื่อสารอะไรและยังไม่ได้พยายามตัดสินอะไรไปก่อน

Curious

ทักษะ Critical Thinking นั้นมาพร้อมกับการที่เราต้องกล้าตั้งข้อสังเกต ข้อสงสัยต่างๆ แล้วนำไปสู่การพยายามหาคำตอบหรือพิสูจน์สมมติฐานนั้นๆ และนั่นทำให้ Critial Thinker มักจะเป็นคนช่างสงสัย เฝ้าสังเกตและคิดพิจารณาประเด็นต่างๆ โดยไม่ตกลงปลงใจเชื่อในทันที

Discipline

แม้ว่าเราจะพอรู้แนวคิดของการใช้ Critical Thinking แล้ว แต่ถ้าไม่ฝึกฝนและหมั่นใจก็จะไม่เกิดความชำนาญ ซึ่งในชีวิตจริงนั้น การคิดแบบ Critical Thinking อาจจะสร้างความเบื่อหน่าย ยุ่งยาก และใช้เวลาจนทำให้หลายๆ ครั้งเราไม่อยากจะคิด บ้างก็อยากรวบรัดไปเลย และนั่นทำให้เราหยุดพัฒนาทักษะการคิดของเราเอง ซึ่งนั่นทำให้ Critical Thinker ต้องมีวินัยกับตัวเองในการหมั่นใช้ทักษะนี้อยู่อย่างเสมอ

Humble

สิ่งสำคัญที่มักเป็นอุปสรรคในการคิดก็คืออคติและ Ego ต่างๆ ซึ่งนั่นทำให้เราต้องลดทิฐิตัวเองลงเพื่อให้เราสามารถเห็นข้อเท็จจริงต่างๆ โดยไม่ได้ใช้อคติมาครอบงำ

Big Picture

การมองภาพกว้าง / ภาพใหญ่ เป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งของการคิดแบบ Critical Thinking เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงและการเป็นระเบียบร้อยเรียงของข้อมูลต่างๆ โดยมีที่มาที่ไป ซึ่งนั่นทำให้การสร้างนิสัยที่มองเห็นภาพรวม ไม่ด่วนตัดสินหรือมองแต่จุดเล็กๆ นั้นเป็นอีกลักษณะที่สำคัญมากๆ ของ Critical Thinker

Objective Truth

การมองข้อเท็จจริงในมุมมองว่าเป็นความจริงสากลแทนที่จะเป็นความจริงในความเห็นของตนนั้นก็เป็นอีกเรื่องที่จำเป็นอยู่ไม่น้อย เพราะนั่นคือการฝึกให้เราสามารถแยกข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นออกจากกันได้นั่นเอง

Emotional

แม้ว่าการคิดแบบ Critical Thinking อาจจะเน้นเรื่องการใช้เหตุผลเป็นสำคัญ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นการคิดโดยปราศจากความรู้สึกแต่อย่างได้ เพราะคนคิดเองก็ต้องมีทักษะในการสัมผัสและเข้าใจความรู้สึกของสิ่งต่างๆ รอบตัวด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพราะการตัดสินใจหลายๆ อย่างก็เกิดขึ้นจากอารมณ์และนั่นทำให้ผู้คิดสามารถเข้าใจที่มาที่ไปของคนอื่นๆ ที่ตัดสินใจไปได้ และในขณะเดียวกันผู้คิดก็ต้องรู้จักอารมณ์ของตัวเองและสามารถแยกแยะได้ว่าตอนนี้เรากำลังให้อารมณ์มาอยู่เหนือเหตุผลหรือไม่

Self-Awareness

ข้อนี้คือการที่ผู้คิดจะต้องรู้จักตัวเอง เข้าใจตัวเองว่าการคิดตอนนี้ของตัวเองเกิดการลำเอียงหรือใช้อคติอะไรหรือไม่ การใช้ข้อเท็จจริงหรือใช้เหตุผลในการคิด กำลังมีอารมณ์กับอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่านั่นเอง

Comments


ติดตามข่าวสารและอัปเดตจาก dots.

Thanks for subscribing.

bottom of page